Image Alt

Global Technology Integrated

การโจมตีทางไซเบอร์ ต้อง “รู้เขา รู้เรา” ใครโจมตีเรา และเราโจมตีใคร

เราเคยเสนอระบบเพื่อให้รู้ทันภัยคุกคามจาก การโจมตีทางไซเบอร์ ให้กับรัฐบาลไทย เพื่อให้ภาพรวมการโจมตีที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพื่อการป้องกันภัยอย่างยั่งยืน

แต่ด้วยว่าเป็นเรื่องที่อธิบายลำบากเนื่องด้วยเป็นภาษาทางเทคนิคจึงทำให้โครงการยังไม่เกิดเป็นชิ้นเป็นอัน  ด้วยความฝันส่วนตัวของกลุ่มเราจึงอยากทำระบบดังกล่าว

ให้เป็นความจริงโดยไม่ต้องสนใจว่าใครจะให้ทำ เงินลงทุนมาจากไหน ? หรือระบบนี้จะเป็นว่าต้องการหรือไม่ก็ตาม เราได้ดำเนินการด้วยเงินทุนตัวเองสร้างระบบขึ้นมา

จนเราได้เก็บเกี่ยวข้อมูลได้ระดับหนึ่งเป็นข้อมูลที่น่าสนใจ  และเป็นพื้นฐานที่ดีในการจะ “รู้เขา รู้เรา” หากนำไปใช้จริงจะช่วยลดปริมาณข้อมูลจราจร (Data Traffic)

ที่เป็นภัยคุกคามไม่ว่าเป็นภัยทางอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่แฝงมากับการสร้างบอทเน็ต การหลอกลวง การแฮก การขโมยข้อมูลเป็นต้น จะทำให้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

มีความมั่นคงปลอดภัยขึ้น โดยเฉพาะประชาชนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไปในประเทศไทย ที่อาจมีความรู้ทางด้านเทคนิคการป้องกันตัวและเป็นผู้ใช้งานทั่วไปที่ไม่มีความรู้ทาง

เทคนิคในการป้องกันตัวจะได้รับประโยชน์กับการใช้งานอย่างปลอดภัยขึ้น

 

ในอดีตจนถึงปัจจุบันเรายังไม่เคยมีการจัดทำข้อมูลเชิงสถิติเพื่อให้ทราบถึงภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เหตุผลหนึ่งที่เกิดการจัดทำระบบ SRAN [in] block นี้ขึ้นก็มาจาก

คำพูดที่กล่าวว่า “รู้เขา รู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” มาใช้ในการประเมินสถานการณ์ด้าน ภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์ สำหรับประเทศไทยเรา พบว่าเรายังไม่มีข้อมูลเพียงพอ

สำหรับการประเมินได้เลย เราแทบไม่รู้ว่า เราไปโจมตีใครบ้างในโลกไซเบอร์ และ มีใครโจมตีเราบ้างในโลกไซเบอร์ ซึ่งวิธีการทำให้รู้เขารู้เรานั้นจำเป็นต้องมีการจัดทำระบบและ

ข้อมูลในเชิงรุกขึ้น

 

เมื่อเปรียบเทียบ การโจมตีทางไซเบอร์ นั้นอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ได้แก่

(1)  Client Compromise

คือ เครื่องลูกข่ายที่ถูกควบคุมจากแฮกเกอร์ไม่ว่าเป็นการถูกทำให้ติดเชื้อหรือการถูกทำการใดการหนึ่งที่มีผู้ควบคุมจากทางไกล ซึ่งเครื่องลูกข่ายที่กล่าวถึงนั้น ได้แก่

คอมพิวเตอร์ที่ใช้ตามบ้าน, คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในสำนักงาน หรือเครื่องทำงานของพนักงาน , โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ซึ่ง Client Compromise หากจัดทำข้อมูลขึ้นและ

ระบุประเทศไทยได้ก็จะทำให้ทราบถึงการรู้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในประเทศเราไปโจมตีที่ใดอยู่บ้าง ตัวอย่างเครื่อง Client ที่ถูก Compromise จากการจัดทำข้อมูลจาก

ทีมงาน SRAN ผ่านเทคโนโลยี Honey pot สามารถดูได้ที่ http://www.sran.org/attack จะทำให้เห็นภาพรวมเครื่องลูกข่ายที่ติดเชื้อและพยายามโจมตีเครื่องคอมพิวเตอร์

ไปยังที่ต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งบางเครื่องมาจากคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค (Notebook) ตามบ้านที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ต แม้กระทั่งเครื่องมือถือที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านโครงข่าย

มือถือ 2G และ 3G เป็นต้น

 

การโจมตีทางไซเบอร์

ภาพที่ 1 ข้อมูลใน www.sran.net/attack แสดงข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยที่พยายามโจมตีบนโลกไซเบอร์ ซึ่งการโจมตีที่พบนั้นอาจจะโจมตีทั้งในและต่างประเทศ

โดยที่เครื่องเหล่านี้ไม่รู้ตัวว่ากลายเป็นนักโจมตีระบบไปเสียแล้ว และเมื่อเราระบุแหล่งที่มาของค่าไอพีแอดเดรสลงบนแผนที่สารสนเทศ (GeoIP) แล้วจะพบว่าคอมพิวเตอร์เกือบ

ทุกจังหวัดในประเทศไทยเป็นนักโจมตีระบบทั้งสิ้น

 

การโจมตีบนโลกไซเบอร์

ภาพที่ 2 การแสดงข้อมูลเฉพาะประเทศไทยในวันที่ 20 กรกฏาคม 2556 เวลา 19:20 พบว่าส่วนใหญ่เครื่องคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยที่โจมตีระบบที่อื่นๆ

ทั่วโลกจะโจมตีบริการ SSH มากที่สุด

 

การโจมตีทางไซเบอร์

ภาพที่ 3 ตัวอย่างการแสดงผลเครื่องคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยที่กลายเป็นนักโจมตีระบบทั้งที่ตนเองอาจไม่รู้ตัว ซึ่งหากตรวจสอบดูแล้วส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้งานตามบ้าน /

ผู้ใช้งานมือถือ มีทั้งการติดเชื้อเป็นบอทเน็ต และเป็นนักโจมตีรหัสผ่าน (Brute force password) รวมทั้งการส่งข้อมูลขยะ (Spam)

 

***** สรุปในข้อ 1 คือเครื่องคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย ไปโจมตี ชาวบ้าน (ทั้งในประเทศและต่างประเทศ) ตกเป็นเหยื่อ โดยส่วนใหญ่ไม่รู้ตัว

 

(2) Server Compromise

คือ เครื่องแม่ข่ายที่ถูกควบคุมจากแฮกเกอร์ ไม่ว่าเป็นการถูกทำให้ติดเชื้อหรือการถูกทำการใดการหนึ่งที่มีผู้ควบคุมจากทางไกลได้ ซึ่งเครื่องแม่ข่ายที่กล่าวถึงนั้นมักจะเป็น

เครื่องที่ออนไลน์ตลอดเวลา 24×7 ได้แก่ เว็บเซิร์ฟเวอร์ , เมล์เซิร์ฟเวอร์ , ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ และเครื่องแม่ข่ายอื่นๆ ที่ค่าไอพีแอดเดรส หรือ โดเมนแนม สาธารณะที่สามารถ

เข้าถึงได้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ส่วนนี้เป็นการรู้เขา ใครโจมตีเราที่ไหนบ้าง หน่วยงานไหนบ้าง ตัวอย่างเครื่อง Server ที่ถูก Compromise เฉพาะในประเทศไทย ที่ทีมงาน SRAN

ได้เก็บรวบรวมข้อมูลมาพบว่า

 

ภัยคุกคามทางไซเบอร์

การโจมตีทางไซเบอร์

ภาพที่ 4 สถิติภาพรวมการตรวจจับการถูกที่อื่นโจมตีที่เกิดขึ้นกับเครื่องแม่ข่าย (Server) ในประเทศไทย ซึ่งภาพนี้เป็นการแสดงข้อมูลเครื่องแม่ข่ายในประเทศไทยที่ถูกโจมตี

ทั้งถูกแฮกเว็บไซต์ (Web Attack) , การยึดเครื่องเพื่อสร้างเป็นเครื่องหลอกลวงข้อมูล (Phishing) และ เครื่องแม่ข่ายที่ติดเชื้อมัลแวร์ (Malware)   รวมถึงสถิติช่องโหว่

และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เปิดบริการ Proxy เพื่อการอำพรางไอพีแอดเดรส เป็นต้น ข้อมูลที่แสดงจากวันที่ 19 กรกฏาคม 2556  ด้านล่างเป็นจำนวนสถิติผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต

ในประเทศไทยเรียงตามตัวเลขการถูกโจมตี ซึ่งจะพบว่า ASN หมายเลข 9931 ของ CAT Telecom ถูกโจมตีมากที่สุดถึง 5,284 ครั้ง เฉพาะการถูกแฮกหรือเปลี่ยนหน้าเว็บเพจ (Web Attack)

 

การโจมตีทางไซเบอร์

ภาพที่ 5 การค้นพบเครื่องแม่ข่ายในประเทศไทย ที่ถูกแฮก และเปลี่ยนหน้าเว็บเพจ

การโจมตีทางไซเบอร์

ภาพที่ 6 การค้นพบเครื่องแม่ข่ายในประเทศไทย ที่ถูกสร้างเป็นเว็บไซต์หลอกลวง (Phishing)

การโจมตีบนโลกไซเบอร์

ภาพที่ 7 การค้นพบเครื่องแม่ข่ายในประเทศไทย ที่ติดเชื้อมัลแวร์ (Malware) ซึ่งมีโอกาสแพร่เชื้อให้กับผู้ใช้งานที่เปิดหน้าเพจนั้นๆ

 

ซึ่งทั้งหมด สามารถดูรายประเภทได้ที่ http://www.sran.net/statistic?q= ซึ่งจากข้อมูลพบว่าประเทศไทยของเรานั้นประสบปัญหาการที่เครื่องแม่ข่ายถูกควบคุมจากแฮกเกอร์

ไม่ว่าเป็นการถูกทำให้ติดเชื้อหรือถูกทำการใดการหนึ่งที่ทำให้สามารถควบคุมระยะไกลได้เป็นจำนวนมาก จากสถิติในเว็บไซต์www.sran.net/reports เมื่อพิจารณาย้อนหลัง

ไป 3 ปี คือปี พ.ศ. 2554 – มิถุนายน 2556 (ค.ศ. 2011 – 2013) พบว่ามีเครื่องคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยที่ทั้งติดเชื้อมัลแวร์ (Malware) , การถูกโจมตีเว็บไซต์จากแฮกเกอร์

(Web Attack) และการตกเป็นเครื่องในการเผยแพร่ข้อมูลหลอกลวง (Phishing) ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องแม่ข่าย (Server)

 

การโจมตีทางไซเบอร์

ภาพที่ 8 สถิติการถูกโจมตีตั้งแต่ปี ค.ศ 2011 – 2013 (ปัจจุบัน) ตามประเภทเครื่องแม่ข่ายที่ถูกโจมตีทั้งการถูกแฮก การตกเป็นเครื่องหลอกลวง และการติดเชื้อ

ภัยคุกคามทางไซเบอร์

การโจมตีทางไซเบอร์

ภาพที่ 9 เมื่อมีการแบ่งประเภทตามหน่วยงานที่มีเครื่องแม่ข่ายที่ตกเป็นฐานในการโจมตีก็พบว่าหน่วยงาน ปี 2011 ภาครัฐบาลถูกโจมตีมากที่สุด ปี 2012

ภาครัฐบาลถูกโจมตีมากที่สุด

ปี 2013 ประเภทเอกชน (Commercial) ถูกโจมตีมากที่สุด รองลงมาคือภาคการศึกษา (Academic) เป็นต้น

 

 

จากข้อมูลย้อนหลัง 2 ปีกับอีก 6 เดือนพบว่าแนวโน้มการที่เครื่องแม่ข่าย (Server) ในประเทศไทยจะติดเชื้อมัลแวร์และการตกเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ข้อมูลหลอกลวง (Phishing)

มีอัตราเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้มีการแพร่กระจายไวรัสและข้อมูลหลอกลวงไปสู่ประชาชนมีค่อนข้างสูง เพราะจากสถิติในปีล่าสุดพบว่ามีเครื่องแม่ข่าย (Server) ที่ติดเชื้อไปแล้ว 10,652 ครั้ง

ซึ่งปริมาณมากกว่าสิ้นปี 2555 และ 2554 เสียอีก ดังนั้นจึงเป็นที่มาของภารกิจในการ ”ลดความเสี่ยง” และประหยัดงบประมาณ สำหรับเครื่องแม่ข่ายที่ยังขาดระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางข้อมูล

ไม่ให้ตกเป็นเป้าในการโจมตีของแฮกเกอร์และการติดเชื้อมัลแวร์จากการใช้งานอินเทอร์เน็ต นั้นทีมงาน SRAN พัฒนาได้คิดค้นเทคนิควิธีที่ช่วยในการลดความเสี่ยงต่อภัยอันตรายต่างๆ

ด้วยการนำข้อมูลจราจรที่ผ่านการใช้งานเว็บเซิร์ฟเวอร์ผ่านมาช่องดีเอ็นเอสผ่านคลาวด์คอมพิวติ้ง ที่ทางทีมงาน SRAN ได้จัดทำขึ้น และช่วยป้องกันภัยคุกคามผ่านการเฝ้าระวังภัยและการป้องกันภัย

แบบรวมศูนย์ ซึ่งจะทำให้เรารู้ทัน การโจมตีทางไซเบอร์ ที่เกิดขึ้นกับตนเองและป้องกันภัยได้แบบ Real Time เพื่อลดความเสี่ยงอันจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อไป